วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553


การเพาะถั่วงอกไร้ราก คือ มีขั้นตอนการปฏิบัติ เเละอุปกรณ์ดังกล่าวตามที่ข้าพเจ้าเขียนมาเบื้องต้น

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การขุดล้อม

การล้อมต้นไม้สามวิธี
วิธีที่1 การขุดล้อม โดยขุดดินลอบโคลนต้นเเล้วค่อยๆตัดออกทีละด้าน เเละตั้งเเต่เริ่มขุดครั้งเเรกก็ต้องตัดเเต่งกิ่ง เเละคำยันต้นไว้ให้เรียบร้อย
วิธีที่2 การขุดล้อมเพื่อให้ใบไม้ร่วง เป็นการลดการคายนำใช้กับต้นไม้ขนาดกลางเเละขนาดเล็ก เช่นตะเเบก เสลาเป็นต้น โดยจะขุดรอบโครนต้นเเล้วจะใช้
วัสดุห่อหุ้มดินไว้
วิธ๊ที่3 การขุดล้อมเเละเคลื่อนย้ายนิยมใช้กับต้นไม้ใหญ่มียาง มีโอกาสตายน้อยมาก เช่น โพธิ์ ไทร ยางอินเดีย ลั่นทม ไผ่ ฯลฯ

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552



ปิดกระหม่อมทำหุ่นไม้ดัด
ลักษณะของไม้หุ่นที่มีรูปทรงเป็นลักษณะไม้หุ่นเดียว (ไม้วิชา) เมื่อนำมาปลูกและฟื้นตัวได้ดี มีกิ่งกระโดงแตกใหม่แล้วจะต้องทำการปิดกระหม่อม ลักษณะไม้ท่อนเดียวเมื่อเจริญเติบโตดีแล้วให้เลื่อยต้นตอ สูงจากพื้นดินพอเหมาะตามต้องการ ต่อมาจะเกิดกิ่งกระโดงแตกออกมาใต้บริเวณรอยตัด ถ้ากิ่งกระโดงแตกต่ำจากรอยตัดมากเกินไป ก็ให้ตัดหัวตอลดต่ำลง เมื่อกระโดงยาวได้ประมาณ 30 เซนติเมตร ก็ให้เริ่มทำการปิดกระหม่อมทำหุ่น โดยการค่อย ๆ กับหลักให้แน่น ปล่อยให้กิ่งกระโดงยาวออกไปเรื่อย ๆ แต่ต้องคอยริดยอดหรือให้กิ่งกระโดงโตเร็วขึ้น รอจนกว่ากิ่งกระโดงจะโตเชื่อมปิดกระหม่อมได้เรียบร้อยดีแล้ว ก็ให้ตัดกิ่งกระโดงออกเหลือไว้เท่าที่ต้องการเท่านั้น เพื่อใช้กิ่งกระโดงนี้เป็นหุ่นเลี้ยงกิ่งแยกต่อไป แต่ละหุ่นจะปล่อยให้แตกกิ่งแยกเท่าไรนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าจะทำไม้ตัดชนิดใดจากรูปแบบทั้ง 9 ชนิด ที่กล่าวไว้แล้วในตอนที่ 2
เทคนิคการตัดแต่งกิ่ง
การเตรียมต้นตอ เพื่อการปลูกเลี้ยงเป็นไม้ดัดไม่ว่าต้นตอที่ได้มานั้นจะมีรูปแบบเป็นไม้บรรจบป่าหรือไม้บรรจบหุ่น รูปทรงมักจะไม่งามตามความต้องการ คงต้องเลี้ยงและบังคับ ให้มีกิ่งก้านพุ่มใบตามรูปร่างรูปทรงที่ตัดเอาไว้ การดัดกิ่งก้านหรือบังคับให้แตกกิ่งก้านตรงจุดที่ต้องการ เป็นเรื่องที่ต้องทำเสมอ เทคนิคเหล่านี้จำเป็นต้องศึกษา ติดตามสังเกตจากผู้มีประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม แบบเรียนคงบอกผู้ปลูกเลี้ยงไม่ได้ว่าจะต้องดัดตรงไหนให้แตกกิ่งใหม่กี่กิ่ง คงเสนอแนะเทคนิคการดัดและเสริมกิ่ง เท่าที่ผู้ปลูกเลี้ยงนิยมทำกันเท่านั้น
การดัดโค้งงอ
เป็นการจัดกิ่งพุ่มใบให้ระยะห่างได้จังหวะช่องไฟที่เหมาะสม การดัดลักษณะนี้จะใช้ลวดพันลำต้นและกิ่งที่ต้องการ การพันลวดควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ 1. ขนาดของลวด เลือกให้มีขนาดเหมาะสมกับลำต้นหรือกิ่งที่จะพันเพราะถ้าใช้ลวดเล็กเกินไป จะบังคับให้กิ่งโค้งตามต้องการไม่ได้ หรือถ้าลวดมีขนาดใหญ่ก็จะแข็งทำให้พันลำบาก 2. การพัน พันวนไปตามต้นกิ่งในลักษณะ 45 องศา ทั้งระยะห่างพอประมาณอย่าให้หลวมหรือแน่นจนเกินไป 3. การดูแลหลังพันลวด หลังจากพันลวดเสร็จแล้วสามารถดัดได้ตามต้องการ การดัดควรทำอย่างเบามือ อย่าพยายามดัดหรือหักลำต้นจนเกินไปเพราะอาจทำให้กิ่งและลำต้นเสียหายได้ เมื่อดัดเรียบร้อยแล้ว ต้องปล่อยให้ต้นไม้อยู่ตัวสักระยะหนึ่ง ประมาณ 3-4 เดือน จึงเอาลวดออกเพื่อป้องกันการสปริงตัวกลับของกิ่ง ถ้าเห็นว่ากิ่งมีรอยถูกลวดมัด ให้รีบแก้ออกแล้วพันใหม่ทันที การดัดกิ่งให้โค้งงออีกรูปแบบหนึ่ง คือการใช้น้ำหนักถ่วงให้กิ่งโค้ง ห้อยงอลงเพราะแรงดึงหรือแรงถ่วง โดยใช้ก้อนหินหรือของหนัก ๆ ผูกเชือกห้อยไว้กับกิ่งที่ต้องการดัด จนเห็นว่ากิ่งอยู่ตัวดีจึงนำออก
การดัดฉาก
กรณีที่ต้องการกิ่งหักมุม หรือหักข้อศอก ให้ใช้มีดปาดส่วนของกิ่งด้านที่ต้องการหักมุมออก แล้วหักพับตามต้องการโดยใช้ลวดบังคับหรือใช้เชือกผูกยึดจากนั้นใช้พลาสติกพันทับรอยปาดที่หักพับของกิ่งเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าได้ จะทำให้รอยแผลสร้างเปลือกออกหุ้มโดยเร็วขึ้น
การบังคับให้แตกกิ่ง
บางครั้งจำเป็นต้องบังคับให้แตกกิ่งใหม่ตรงตามจุดที่ต้องการซึ่งอาจเป็นได้ทั้งกิ่งที่มีตาและตรงที่ไม่มีตาการบังคับให้แตกกิ่งตรงที่มีตาอยู่แล้ว ทำได้โดยการใช้พลาสติกพันลำต้นและกิ่งให้มิด เว้นไว้ตรงตาที่ต้องการให้แตกกิ่ง เมื่อตาที่เว้นไว้แตกกิ่งจะต้องรอให้กิ่งโตพอสมควร จึงเอาพลาสติกที่พันออกการบังคับให้แตกกิ่งตรงที่ไม่มีตา วิธีการทำได้โดยใช้สว่านเจาะทะลุ แล้วนำกิ่งยอดจากต้นอื่น มาตัดกิ่งแขนงเล็ก ๆ และรูดใบออกให้หมด นำกิ่งดังกล่าวสอดให้ทะลุรูเจาะนั้น แล้วผูกยึดกิ่งสอดนั้นให้แน่น รอให้กิ่งที่สอดนั้นโตขึ้นเนื้อเยื่อและท่อน้ำนำอาหารก็จะเชื่อมประสานติดกันแน่น จากนั้นจึงค่อยตัดโคนกิ่งที่สอดให้ชิดกับกิ่งหุ่น ซึ่งเมื่อนาน ๆ ไปก็จะดูเป็นกิ่งจากต้นหุ่นเดียวกัน
การทำช่อหรือพุ่มใบ
เมื่อมีการจัดหรือบังคับให้แตกกิ่งตรงตามจุดต้องการ สิ่งที่ต้องดูแลต่อไปก็คือช่อหรือพุ่มใบ ไม้ดัดนอกจากรูปทรงต้นกิ่งก้านแล้ว ช่อหรือพุ่มใบเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่จะทำให้ไม้ต้นนั้นดูงดงาม ดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็น การทำช่อหรือพุ่มใบทำได้โดยการตัดยอดของกิ่งนั้นออก ให้กิ่งนั้นแตกยอดและใบออกมา รอจนยอดนั้นมีใบเพสลาด (กิ่งอ่อนกิ่งแก่) จากนั้นก็ตัดยอดที่แตกออกมาใหม่นี้อีกครั้งในลักษณะเช่นนี้ติดต่อกันไป จนกระทั่งส่วนนั้นแตกยอดและใบมากขึ้นดูสวยงาม ก็ตัดแต่งให้ได้รูปทรงของช่อใบตามต้องการ การทำช่อหรือพุ่มใบ กิ่งหนึ่งจะแยกออกเป็นกี่ช่อที่พุ่มใบก็ได้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบตามตำราและรูปทรงของไม้หุ่น แต่สิ่งที่ควรคำนึงคือ การจัดช่อใบให้ได้ระยะที่พอเหมาะกับสัดส่วนและสัมพันธ์กัน เช่น การที่จะทำให้มี 9 ช่อ ก็จัดวาง 2 ชั้นชั้นละ 4 ช่อ และวางไว้ที่ยอดอีก 1 ช่อ รวมเป็น 9 ช่อพอดี

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552



มรดกทางศิลปที่เก่าแก่อย่างหนึ่งของไทย ที่ปัจจุบันหาดูได้ค่อนข้างยาก และหาผู้สืบทอดได้ยากอีกด้วยก็คือ การเลี้ยงไม้ดัดแบบไทย ซึ่งเป็นงานอดิเรกของคนไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ดังที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งผู้เขียนได้เคยยกมากล่าวไว้ในบทที่ 1 แล้ว ประมาณกันว่า"ขุนแผน" ตัวเอกในเรื่องนี้ มีตัวตนจริงๆ อยู่ในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ระหว่างปีพุทธศักราช 2034 ถึง 2072 หรือจุลศักราช 840 ถึง 891 ซึ่งถ้าคิดตามประสาของผู้เขียนก็หมายความว่าคนไทยเล่นไม้ดัดเป็นงานอดิเรกกันมานานกว่า 500 ปีแล้ว